เทคโนโลยีการห่อหุ้มสารอาหาร หรือ Encapsulation ช่วยป้องกันสารอาหารถูกทำลายก่อนที่ร่างกายยจะดูดซึมไปใช้ การห่อหุ้มช่วยให้สามารถป้องกัน ความชื้น แสง ออกซิเจน ความร้อน กรดในกระเพาะอาหาร ซึ่งช่วยคงคุณค่าของสารอาหารได้ยาวนานกว่าปกติ
เทคโนโลยีการห่อหุ้มสารอาหาร จากประเทศอิสราเอล ที่เล็กกว่าทั่วไป ซึ่งเรียกว่า microEncapsulated Technology โดยมีขนาดของสารที่เล็กกว่า 100 µm ถูกนำใช้ในการห่อหุ้ม ลูทีน ซีแซนทีน ซึ่งสกัดจากดอกดาวเรือง(Marigold)
จึงมั่นใจได้ว่าสารลูทีน ซีแซนทีน จะคงสภาพได้ยาวนาน และมีประสิทธิภาพที่ดียอดเยี่ยม
ลูทีนเป็นหนึ่งในแคโรทีนอยด์ของแซนโทฟิลล์เพียงไม่กี่ชนิดที่พบในจุดภาพชัดของเรตินาของมนุษย์ เนื่องจากร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์ลูทีน ลูทีนจึงได้รับจากอาหารเท่านั้น ลูทีนเป็นสารธรรมชาติที่พบได้ในไข่แดงและผักใบเขียวเข้ม การศึกษาขั้นพื้นฐานและทางคลินิกจำนวนมากได้รายงานคุณสมบัติ ต่อต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบของลูทีนในดวงตา ซึ่งชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ในการป้องกันและบรรเทาโรคทางตา เช่น จอประสาทตาเสื่อมที่เกี่ยวข้องกับอายุ เบาหวานขึ้นจอตา จอประสาทตาของทารกเกิดก่อนกำหนด สายตาสั้น และต้อกระจก
(ข้อมูลจาก: https://eye.hms.harvard.edu/publications/lutein-supplementation-eye-diseases)Dr.Chen ได้ทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบ อาสาสมัครที่ได้รับ ลูทีน ซีแซนทีน กับกลุ่มที่ไม่ได้รับ ลูทีน ซีแซนทีน เพื่อวัดผลการลดความเสี่ยงของโรคจอประสาทตาเสื่อม(AMD) โดยพบว่ากลุ่มที่ได้รับ ลูทีน ซีแซนทีน จะลดความเสี่ยงของโรคจอประสาทตาเสื่อม(AMD) อย่างมีนัยสำคัญ
(ข้อมูลจาก: https://www.aao.org/eyenet/article/nutrition-in-fight-against-eye-disease)Departments of Epidemiology, Nutrition, and Biostatistics, Harvard School of Public Health, Boston, MA 02115, USA.
จากการติดตามอาสาสมัครชาย จำนวน 36,644 คน ซึ่งมีอายุ 45-75 ปี ตั้งแต่ปี 1986 เป็นเวลา 8 ปี
โดยเน้นในการรับประทานอาหารที่มี แคโรทีนอยด์และสารอาหารอื่นๆ พบว่ากลุ่มที่ได้รับ ลูทีนและซีแซนทีน จะลดความเสื่อมของโรคต้อกระจกถึง 19%
(ข้อมูลจาก: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10500021/)บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน มหาวิทยาลัยมหิดล คณะเภสัชศาสตร์
ลูทีน และ ซีแซนทีน เป็นสารประกอบที่จัดอยู่ในกลุ่มของแคโรทีนอยด์ที่ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นวิตะมิน เอ ได้ (non-provitamin A carotenoids) โดยทั่วไป หรือเรียกอีกอย่างว่าเป็นกลุ่มแซนโทฟิลล์ (Xanthophyll) ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสร้างสารประกอบทั้งสองนี้ได้ จำเป็นต้องได้รับจากอาหาร ลูเทอินและซีอาแซนทินเป็นแคโรทีนอยด์ 2 ตัวเท่านั้นที่พบอยู่ที่แมคูลา (macula) และที่เลนส์ของตา
จากรายงานการศึกษาทางระบาดวิทยา ซึ่งเป็นการศึกษาในประชากรกลุ่มใหญ่ 12 ฉบับ แม้ว่าผลการศึกษาจะไม่สม่ำเสมอ แต่ส่วนใหญ่พบว่ากลุ่มคนที่รับประทานอาหารที่มีผักและผลไม้ที่มีลูทีนและซีแซนทีนสูงสุด หรือกลุ่มคนที่มีระดับลูทีนและซีแซนทีนในเลือดสูงสุด (เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ต่ำสุด) จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมน้อยกว่ามาก นอกจากนี้การศึกษาทางคลินิก (การศึกษาในคน) 7 ฉบับ พบว่าการได้รับลูทีนและซีแซนทีน ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของอาหารหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร มีผลทำให้ระดับของลูทีนในเลือดและในแมคูลาสูงขึ้น และทำให้การวัดการมองเห็นต่างๆดีขึ้น มีแนวโน้มในการป้องกันการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม
(ข้อมูลจาก: https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/189/ชะลอจอประสาทตาเสื่อมต้องกินอะไร/)