“เมื่อสายตาเริ่มเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมในยุคดิจิตอล ไม่ว่า จะวัยเด็กหรือวัยผู้ใหญ่ อาการตาพร่ามัว กล้ามเนื้อตาเมื่อยล้า ตาบอดเวลากลางคืน จอประสาทตาเสื่อม ล้วนเกิดจากการจ้อง มองจอมือถือ คอมพิวเตอร์ เป็นเวลานาน โดยไม่ได้หยุดพัก หากไม่รีบแก้ไขอาจทำให้ตาบอดได้”
บิลเบอรี่ เป็นผลไม้แถบสแกนดิเนเวีย เป็นพืชตระกูล Vaccinium มีผลขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลาง 3-10 มม. อุดมไปด้วย สารต้านอนุมูลอิสระสูง หลากหลายชนิด โดยมีสารสำคัญได้แก่สารแอนโธไซยานิน และแอนโธไซยานิดิน ที่ช่วยบำรุงดวงตา นอกจากนี้ยังมีสารอาหารอื่นๆที่เป็น ประโยชน์ต่อมนุษย์ เช่น วิตามินซี วิตามินอี วิตามินเอ ไอโอฟราโวนอยด์ ซิงค์ ซีลีเนียม แมงกานีส แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส แคลเซียม
แอนโธไซยานิน และแอนโธไซยานิดิน สารสำคัญในบิลเบอรี่ มีคุณประโยชน์
ซีบัคธอร์น เป็นผลไม้ในตระกูลเบอรี่ มีสีเหลืองส้ม ขึ้นตามบริเวณที่ราบสูงและหนาวจัด พบมากในทิเบต รัสเซีย จากงานวิจัยพบว่ามีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ มากกว่า 190 ชนิด ถูกขนานนามว่า “Holy Fruit” ถูกจัดอยู่ในยาแผนโบราณของจีน ทิเบต รักษาอาการไอ โรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร บำรุงผิว รักษาผิวที่ถูกรอยไหม้ และภาวะซึมเศร้าในบางกรณี จากงานวิจัยพบว่ามี วิตามินสูง มีน้ำมันโอเมก้า 3 โอเมก้า6 โอเมก้า7 และ โอเมก้า9
ซีบัคธอร์น เป็นหนึ่งในสารต้านอนุมูลอิสระที่มี ประสิทธิภาพสูง ซึ่งอุดมด้วยโปรแอนโทไซยานิดิน ฟลาวานอยด์ และโพลีฟีนอล ซึ่งพบว่ามีความสามารถในการต่อต้าน อนุมูลอิสระสูงกว่าวิตามินซีถึง 70 เท่า
ลูทีนและซีแซนทีนเป็นสารอาหารที่อยู่ภายใน ดวงตา บริเวณที่เรียกว่า Macula และเลนส์ตา ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์สารทั้งสองขึ้นเอง จะต้องได้รับจากการรับประทานเท่านั้น ลูทีน จัดอยู่ในกลุ่มสารแคโรทีนอยด์ สามารถ พบได้ในพืช โดยทั่วไปเช่น เช่น แครอท ฟักทอง ปวงเล้ง ข้าวโพด ดอกดาวเรือง เป็นต้น
วิตามินเอ เป็นสารอาหารกลุ่มวิตามินที่ละลายในไขมัน พบได้ในรูปของสารให้วิตามินเอ กลุ่ม retinoids เช่น retinol และ retinyl esters เป็นต้น ร่างกายมีการสะสมวิตามินเอในรูปของ retinyl esters ที่ตับได้ถึงร้อยละ 80 ของปริมาณ สะสมรวม โดยในภาวะปกติ ควรมีความเข้มข้นของวิตามินเอในตับอย่างน้อยที่สุดเท่ากับ 20 ไมโครกรัม ต่อน้ำหนักตับ 1 กรัม เพื่อให้สามารถรักษาระดับวิตามินเอในเลือดให้ เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
วิตามินเอ มีหน้าที่สำคัญเกี่ยวกับการมองเห็น โดยเฉพาะในแสงสลัว การเจริญเติบโต และทำให้ เซลล์ใน เนื้อเยื่อต่าง ๆ อยู่ในสภาวะปกติภาวะขาด วิตามินเอ ในคนก่อให้เกิดอาการทางคลินิกที่เกี่ยว กับตาและการมองเห็น ซึ่งเรียกภาวะดังกล่าวว่า Xerophthalmia ที่เริ่มจากอาการตาบอดกลางคืน (night blindness) หากไม่ได้ รับการรักษาอาการ จะรุนแรงขึ้น จนถึงขั้นกระจกตาขุ่นเหลว (keratomalacia) และตาบอดในที่สุด นอกจากนี้มีรายงานพบอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นของ โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจและทางเดิน อาหาร ในทารกและเด็กเล็กที่มีภาวะขาดวิตามินเอ และเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตในวัย ดังกล่าวด้วย
วิตามินอีเป็นวิตามินที่ละลายในน้ำมัน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระและมีความจำเป็นต่อร่างกาย ในขบวนการทำงานต่างๆ ของร่างกาย
การขาดวิตามินอีทำให้เกิดความผิดปกติของระบบประสาท และเกิดความเสื่อมของเส้น ใยของเซลล์ประสาท (axon degeneration) ทำให้ผู้ป่วยเดินเซ (spinocerebellar ataxia) กล้ามเนื้อผิดปกติ (myopathy) โดยมีอาการ ปวดกล้ามเนื้อและกล้ามเนื้ออ่อนแรง
อาหารที่เป็นแหล่งของวิตามินอีคือ น้ำมันพืชชนิดต่าง ๆ เช่น น้ำมันข้าวโพด น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันจมูกข้าวสาลี เป็นต้น ส่วนเนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ต่าง ๆ มีวิตามินอีน้อย
เนื่องจากวิตามินอีทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และมีบทบาทในกระบวนการต้านการ อักเสบ (anti-inflammatory process) วิตามินอีสามารถยับยั้งการจับกันของเกล็ดเลือด และช่วยสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค อย่างไรก็ตาม งานวิจัยต่าง ๆ ที่ศึกษาผลของการเสริมวิตามินอี หรือการให้วิตามินอีร่วมกับสารต้านอนุมูลอิสระอื่น ๆ เพื่อดูผลต่อการเปลี่ยนแปลงของภาวะ เจ็บป่วยต่าง ๆ หรือการศึกษาผลของการเสริมวิตามินอีต่อการลดความเสี่ยง ของการเกิดโรคจอ ประสาทตาเสื่อม {Aged-related Macular Degeneration (AMD)} นั้น มีทั้งที่เห็นผล และไม่เห็นผล
วิตามินซี หรือ ascorbic acid เป็นวิตามินที่มีความสำคัญต่อชีวิตและการมีสุขภาพดี มนุษย์ไม่สามารถ สังเคราะห์วิตามินซีได้เองเนื่องจากไม่มีเอนไซม์ L-gulonolactone oxidase ดังนั้น มนุษย์จำเป็นต้องได้รับวิตามินซี จากอาหารเท่านั้น
วิตามินซีเป็นวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ มีฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระ ลดการเกิด lipid peroxidation และ ยับยั้งการสร้างสารก่อมะเร็งไนโตรซามีน (nitrosamine) วิตามินซีมี ความสำคัญต่อการสังเคราะห์คอลลาเจน (collagen) คาร์นิทีน (carnitine) และสารส่งผ่าน ประสาท (neurotransmitter) มีบทบาทต่อเมตาบอลิสมของ กรดอะมิโนและคาร์โบไฮเดรต ช่วยเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็ก รวมถึงการเพิ่มภูมิต้านทาน ถ้ามีการขาดวิตามินซี อย่างรุนแรง จะเกิดโรคลักปิดลักเปิด
กรดไขมันโอเมก้า3 เป็นกรดไขมันจำเป็นไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ซึ่งร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเอง ต้องอาศัยการรับประทาน กรดไขมันโอเมก้า3 มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ขึ้นกับความยาวของโครงสร้างโมเลกุล ที่รู้จักส่วนใหญ่ ได้แก่ ALA , EPA และ DHA
กรดไขมันโอเมก้า 3 มีส่วนสำคัญมาก ต่อดวงตา สมอง หลอดเลือด หัวใจ โอเมก้า3 เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดการอักเสบ ของร่างกาย ในงานวิจัยพบปริมาณโอเมก้า3 ที่ดวงตาและสมอง จำนวนมาก และพบว่าโอเมก้า3 มีส่วนสำคัญในระบบสือประสาท
กรดไขมัน โอเมก้า 7 เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่เพิ่งถูกค้นพบใน ปี 2008 โดยกลุ่มนักวิจัยจาก Harvard Medical School โดยพบคุณสมบัติในการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ ลดการสะสมของไขมันโคเลสเตอรอลในหลอดเลือด
นอกจากนี้ยังจะช่วยกระตุ้นการสร้างเยื่อเมือก ในเนื้อเยื่อตา ช่องปาก ทางเดินหายใจ ลำไส้ ช่องคลอด และผิวหนัง
จากการศึกษา พบกรดไขมันโอเมก้า 7 ในเมล็ดซีบัคธอร์น ในปริมาณสูง
ธาตุสังกะสีหรือซิงค์ มีความสำคัญต่อการทำงานของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต ภูมิคุ้มกันโรคติดเชื้อ การสืบพันธุ์และระบบชีวประสาทที่ควบคุมพฤติกรรม
ในร่างกายมนุษย์พบปริมาณซิงค์ โดยรวมประมาณ 2.5 กรัมในผู้ชาย และ 1.5 กรัมในผู้หญิง ส่วนใหญ่ของซิงค์(85%) พบในกระดูกและกล้ามเนื้อ มีเพียง 0.1% เท่านั้นที่อยู่ในเลือดแต่เป็น ส่วนที่มีความสำคัญ เนื่องจากมีอัตราหมุนเวียนระหว่างซิงค์ ในเลือดกับอวัยวะอื่นๆ ถึง 130 ครั้งต่อวัน โดย ปกติร่างกายมีการขับซิงค์ ผ่านทางอุจจาระเป็นหลัก ซึ่งปริมาณที่ถูกขับออกมาแปรผันโดยตรงกับปริมาณ ที่ถูกดูดซึมและระดับซิงค์ในร่างกายขณะนั้น นอกจากนี้ยังมีการสูญเสียซิงค์ผ่านทางปัสสาวะ เหงื่อ ผิวหนัง เส้นผม น้ำอสุจิ เลือดประจำเดือน และน้ำนมแม่
ผู้ที่ขาดซิงค์รุนแรง มีอาการ ผิวหนังอักเสบ เบื่ออาหาร การรับรสและกลิ่นลดลง ผมร่วง ท้องร่วง การเติบโตช้า ระบบสืบพันธุ์พัฒนาช้า มีความผิดปกติทางอารมณ์ ติดเชื้อได้ง่ายและรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
ซิงค์สารอาหารจำนวนน้อยนิดที่ร่างกายต้องการเป็นประจำทุกวัน กลับมีความสำคัญต่อการทำงานในส่วนต่างของร่างกาย จากการศึกษาพบประโยชน์มากมายของซิงค์ ตัวอย่างเช่น
ทั้งนี้การรับประทานซิงค์ จะต้องไม่เกินกว่าที่กำหนด เพื่อความปลอดภัยของร่างกาย